บทที่ ๑ แห่งคัมภีร์เต๋า

เต๋าที่เรียกขานได้ มิใช่เต๋าที่แท้
ชื่อที่เรียกขานได้ มิใช่ชื่อที่แท้
ความไม่มี เป็นรากฐานแห่งฟ้าดิน
ความมี เป็นมารดาของสรรพสิ่ง
การตั้งอยู่ในความไม่มี ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง
การตั้งอยู่ในความมี ทำให้เห็นความเป็นมาของสรรพสิ่ง
ความไม่มีและความมี โดยเนื้อแท้เป็นสิ่งเดียวกัน
เพียงแต่เรียกชื่อต่างกัน
ทั้งสองต่างก็เป็นธรรมชาติอันลึกซึ้ง ทั้งลึกและซึ้ง
เป็นประตูแห่งการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง

บทที่ ๒ แห่งคัมภีร์เต๋า

เมื่อรู้จักความงาม ความน่าเกลียดก็ปรากฎ
เมื่อรู้จักความดี ความชั่วก็ปรากฎ
มีกับไม่มี เกิดจากการรับรู้
ยากกับง่าย เกิดจากความรู้สึก
ยาวกับสั้น เกิดจากการเปรียบเทียบ
สูงกับต่ำ เกิดจากการเทียบเคียง
เสียงดนตรีกับเสียงธรรมดา เกิดจากการรับฟัง
หน้ากับหลัง เกิดจากการนึกคิด
ดังนั้น นักปราชญ์จึงกระทำโดยไม่กระทำ
สอนธรรม โดยไม่ต้องพูด
ให้สรรพสิ่งดำเนินไป โดยไม่แทรกแซง
ให้กำเนิด แต่ไม่ครอบครอง
ปฎิบัติกิจ แต่ไม่ประกาศให้โลกรู้
เพราะไม่ครอบครอง ความสำเร็จจึงเป็นของท่านตลอดไป

ธรรมกับความงาม

ดอกไม้ ดวงจันทร์ ทิวทัศน์ ไม่ใช่ตัวความงาม
เป็นเพียงสิ่งสวยงาม สิ่งสวยงามมีจำนวนมาก
แต่ความงามมีเพียงหนึ่ง ความงามไม่มีเกิด
ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่แตกสลาย
แต่สิ่งสวยงาม มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป

การศึกษา

ในบรรดาหลักสูตรการเรียนรู้ทั้งปวง
ชีวิต คือ เนื้อหาที่ดีที่สุด
ธรรมชาติ คือ ครูที่วิเศษที่สุด
โลก คือ สถานศึกษาที่แท้จริง

blog

สร้างblog

Life & Education

นาฬิกา

เกี่ยวกับฉัน

About this blog